RSU
หน้าแรก
เกี่ยวกับวิทยาลัย
จริยธรรมวิทยาลัย
หลักสูตร
- ปริญญาตรี
- ปริญญาโท
- ปริญญาเอก
- นานาชาติ
ห้องปฏิบัติการ
วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
ผลงานคณาจารย์
ผลงานสร้างสรรค์
ติดต่อวิทยาลัย
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Communication Arts)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (นิเทศศาสตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Communication Arts)
ปรัชญา

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาวงการนิเทศศาสตรศึกษาได้มีการทบทวนวิทยวินัย (Academic Discipline) ทั้งในเชิงทฤษฎีและแนวทางการศึกษา แนวโน้มของการศึกษาได้มุ่งสู่แนวทางการวิจัยที่มุ่งสู่งานวินัยการปฏิบัติทางการสื่อสาร (Practical Discipline) อันเป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้ภูมิทัศน์ของสื่อมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ของวิธีการผลิตเนื้อหา เครื่องมือสื่อสาร เนื้อหาและแบบแผนการรับสารผ่านมัลติแพลตฟอร์มที่นำสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การคงอยู่ของสื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ การเปลี่ยนแปลงด้านระเบียบ กฎเกณฑ์ทางสังคมและการศึกษาวิจัยได้ส่งผลต่อแนวทางการศึกษาการสื่อสาร นิเทศศาสตรศึกษาจึงมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยในเชิงพหุวิทยาการ พิจารณาการปฏิบัติการทางการสื่อสารในฐานะที่เป็นการปฏิบัติการทางสังคม เพื่อให้เกิดภูมิปัญญาที่มุ่งสู่การปฏิบัติทางการสื่อสารที่ดี

ด้วยเหตุนี้ วิทยวินัยนิเทศศาสตร์ (Communication Academic Discipline) จึงจำเป็นต้องได้รับการบูรณาการในเชิงนิเทศศาสตร์องค์รวมศึกษา (Holistic Communication Studies) ครอบคลุมขอบเขตที่สำคัญ 3 ด้าน คือ นิเทศศาสตร์ทฤษฎี นิเทศศาสตร์วิพากษ์ และนิเทศศาสตร์ปฏิบัติ โดยมีการวิจัยเป็นแกนกลาง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความจริง ตลอดจนวิธีการแก้ปัญหา และการสร้างสรรค์งานทางการสื่อสารเพื่อประโยชน์สุขต่อสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อสร้างนักวิจัยทางการสื่อสารที่มีความรู้ ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ทางด้านการสื่อสาร มีความสามารถในการวางแผน กำหนดรูปแบบ เพื่อแก้ปัญหาทางการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถบูรณาการทักษะความรู้ทางนิเทศศาสตร์และความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
  2. เพื่อปลูกฝังให้ผู้ที่เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่โดยมีคณาจารย์และอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด พัฒนาตนเป็นนักคิด นักค้นคว้า นักวิจัย และมีความเชื่อมั่นในวิทยวินัยทางนิเทศาสตร์
  3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาแนวความคิดนิเทศศาสตร์องค์รวมศึกษาสู่บริบททางการสื่อสารเฉพาะทางที่ตรงกับภูมิหลัง ประสบการณ์ และศักยภาพของผู้เรียน อันเป็นประโยชน์แก่สังคม บนพื้นฐานของหลักจริยธรรมการสื่อสาร
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. อาจารย์มหาวิทยาลัย
  2. นักวิจัย
  3. นักวิชาการ
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 3 ปี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : 48 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร : แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท

แบบ 1 (แบบ 1.1)

ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แบบ 2 (แบบ 2.1)

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีคุณสมบัติอื่นตามเกณฑ์กำหนดของหลักสูตร
  2. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำ โดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
  3. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
  4. ไม่เป็นคนวิกลจริต
  5. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต
  6. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องเลือกแผนการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรแบบ 1.1 หรือ แบบ 2.1 อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้สมัครที่เลือกศึกษาแบบ 1.1 ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านนิเทศศาสตร์ในแผนการเรียนที่มีการทำดุษฎีนิพนธ์ หรือมีผลงานวิจัยมาแสดง และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  7. มีผู้รับรองซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในเอกสารการสมัคร
  8. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
เอกสารประกอบการสมัคร
  1. รูปถ่าย 1 นิ้ว 6 รูป (ไม่สวมชุดครุย)
  2. สำเนาใบปริญญาบัตร
  3. Transcript
  4. ผลสอบ RSU-test / TOEFL / IELTS / CU-TEP / TOEIC
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. สำเนาบัตรประชาชน
  7. หนังสือรับรอง 2 ฉบับ
  8. สำเนาพาสปอร์ต (เฉพาะนักศึกษาต่างชาติ)
  9. โครงร่างงานวิจัย
ค่าใช้จ่ายประมาณการตลอดหลักสูตร

450,000 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม



คำอธิบายรายวิชา
ดาวน์โหลด




แผนการศึกษา
ดาวน์โหลด