RSU
หน้าแรก
เกี่ยวกับวิทยาลัย
จริยธรรมวิทยาลัย
หลักสูตร
- ปริญญาตรี
- ปริญญาโท
- ปริญญาเอก
- นานาชาติ
ห้องปฏิบัติการ
วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
ผลงานคณาจารย์
ผลงานสร้างสรรค์
ติดต่อวิทยาลัย
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการแสดง

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : นิเทศศาสตรบัณฑิต (สื่อสารการแสดง)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Communication Arts (Performing Arts Communication)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : นศ.บ. (สื่อสารการแสดง)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Com.Arts (Performing Arts Communication)

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการแสดง มุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีความสามารถเป็นผู้ที่มีระบบคิดที่ผสมผสานสื่ออย่างสร้างสรรค์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในงานสื่อสารการแสดงโดยการใช้สื่อดิจิทัลมาตอบสนองความหลากหลายเหล่านั้น โดยมีความคิดสร้างสรรค์และมีการนำเสนอที่แปลกใหม่โดยมักจะมีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายก่อนเสมอ เพื่อความนิยมที่มากสุดและมีความสำเร็จที่สูงสุด

หลักสูตร ฯ จึงได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและเทคโนโลยี การสร้างบุคลากรที่มีความรอบรู้ในวิชาต่าง ๆ การคิดเชิงวิเคราะห์สังเคราะห์ สร้างสรรค์และแก้ปัญหาเชิงบูรณาการ รวมทั้งทักษะทางวิชาชีพจึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ยังเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์งานสื่อสารการแสดงอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความเข้าใจในการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อรองรับการขยายตัวด้านบริการสร้างสรรค์งานสื่อสารการแสดงทั้งภายในและต่างประเทศ และสามารถพัฒนาแนวความคิดทางด้านการสื่อสารการแสดงในระดับสากลเพื่อการพัฒนาประเทศอีกด้วย

นักศึกษาผู้เรียนในหลักสูตรจะผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบเป็นอย่างดี และเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา เพื่อให้มีความพร้อมและมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ และมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย

ปรัชญา

หสื่อสารการแสดงสร้างสรรค์เพื่อสังคม

การแสดงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์และเป็นสื่อที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาแต่บรรพกาล และยังคงมีบทบาทในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การละคร (drama)” ได้พัฒนาเข้าสู่สื่อสมัยใหม่โดยยังคงหัวใจสำคัญของการละคร คือ การถ่ายทอดเรื่องราวของมนุษย์ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนแห่งยุคสมัยและเป็นสื่อโน้มนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล “การแสดง” เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องชีวิตมนุษย์โดยตรงดังสำนวนที่ว่า “ดูละครแล้วย้อนดูตัว” ศิลปะการแสดงจึงเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจมนุษย์และสังคมผ่านการสื่อสารซึ่งเป็นการจำลองเหตุการณ์ขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุที่เป็นภาพสะท้อนสังคม การสื่อสารผ่านการแสดงจึงเชื่อมโยงถึงปัญหาสังคม ไม่ว่าจะเป็นอาชญากรรม เด็กเร่ร่อน โสเภณี ยาเสพติด ครอบครัว ฯลฯ เพราะการแสดงจะต้องมีพื้นหลังของยุคสมัย คาบเกี่ยวกับประเด็นปรัชญาและจริยธรรม นอกจากนี้ ยังเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ การรักษาเยียวยา และอื่น ๆ ในส่วนของการแสดง ยังคาบเกี่ยวกับการเล่น การละเล่น การฝึกฝน การควบคุมร่างกายและจิตใจ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งและเป็นงานสายนิเทศศาสตร์ที่จะละเลยการวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสารและกลุ่มเป้าหมายไม่ได้

มโนทัศน์เรื่องการสื่อสารการแสดง ไม่ใช่ชนิดของสื่อ แต่เป็นองค์ความรู้ที่ปรากฏตัวในหลายพื้นที่ มีบทบาทอยู่ในงานสื่อหลายแขนง เช่น ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ตลอดจนสื่อใหม่ และงานกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ (event) โดยมีองค์ความรู้ที่คาบเกี่ยวกับวรรณกรรม ปรัชญา ศิลปะ และการสื่อสาร โดยองค์ความรู้แล้ว “การสื่อสารการแสดง” เป็นทั้งวิชาชีพและวิชาการ บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ทั้งโดยตรงและโดยการประยุกต์ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการแสดง จึงเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และความรับผิดชอบต่อการสร้างสรรค์งานสื่อสารการแสดงที่มีอยู่อย่างหลากหลายในสังคมยุคปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการ “สร้างสรรค์งานสื่อสารการแสดงเพื่อสังคม”

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. พัฒนาเพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านวิชาการ
  2. พัฒนาเพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในทักษะวิชาชีพด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่
  3. พัฒนาเพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถสร้างสรรค์งานสื่อสารการแสดงที่เป็นประโยชน์ทั้งมิติทางเศรษฐกิจและสังคมผ่านการสร้างสรรค์รายวิชาและกิจกรรมในรายวิชาที่เน้นการเรียนการสอน
  4. เพื่อสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งทางวิชาชีพให้แก่บัณฑิต
  5. เพื่อสร้างสรรค์งานสื่อสารการแสดงที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ในเชิงธุรกิจและสังคม
  6. ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. นักแสดง
  2. นักเขียนบทการแสดงต่าง ๆ
  3. พิธีกรและผู้ดำเนินรายการ
  4. ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ดิจิทัล
  5. ผู้ฝึกสอนการแสดง
  6. ผู้กำกับการแสดง
  7. ผู้ประสานงานองค์กรการแสดง
  8. ครีเอทีฟงานสื่อสารการแสดง
  9. ผู้ประกอบการงานสื่อสารการแสดงงานอีเวนต์
  10. ผู้ประกอบการงานสื่อสารการแสดงงานสื่อออนไลน์
รายละเอียดเพิ่มเติม



โครงสร้างหลักสูตร
ดาวน์โหลด




คำอธิบายรายวิชา
ดาวน์โหลด




แผนการศึกษา
ดาวน์โหลด